วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข้อมูลทั่วไป



พม่า
              พม่า หรือ เมียนมา มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่ายังเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีประชากรกว่า 60.28 ล้านคน นับแต่ได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อที่สุดท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายซึ่งยังแก้ไม่ตก ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ประเทศพม่าอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองถูกยุบอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2554 หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553 และมีการตั้งรัฐบาลพลเรือนในนามแทน แต่ทหารยังมีอิทธิพลอยู่มาก ประเทศพม่าอุดมไปด้วยทรัพยากร แต่เศรษฐกิจพม่าเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก จีดีพีของพม่าอยู่ที่ 42,953 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง






มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง
         -สงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า
         - สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
         - สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
         - ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ

เมืองหลวงกรุงเนปีดอ

                กรุงเนปีดอ เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2548 และสร้างเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 7 พันตารางกิโลเมตร หรือถ้าเทียบขนาดกับประเทศสิงคโปร์แล้ว ก็จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 10 เท่า กรุงเนปีดอ ตั้งอยู่ในเขตเมืองปินนามา บริเวณตอนกลางของประเทศ ซึ่งห่างจากกรุงย่างกุ้งไปประมาณ 385 กิโลเมตร
          ผังเมืองของกรุงเนปีดอ แบ่งออกเป็น 4 โซนหลัก ๆ คือ โซนราชการ โซนโรงแรม โซนอุตสาหกรรม และโซนทหาร ซึ่งปัจจุบัน มีประชากรย้ายเข้าไปยังกรุงเนปีดอกว่า 9 แสนคน โดยที่กรุงเนปีดอ มีโรงแรมอยู่ทั้งสิ้น 24 แห่ง กว่า 1,600 ห้อง แต่นั่นเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ เท่านั้น เพราะสิ่งที่โดดเด่นที่สุดคงเป็น โซนทหาร เนื่องจากเต็มไปด้วยศูนย์ราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย และคลังอาวุธเพื่อใช้ในการป้องกันประเทศ


สถานที่สำคัญของกรุงเนปีดอคืออนุสาวรีย์ของ 3 กษัตริย์ผู้ก่อตั้งพม่า คือ พระเจ้าอโนรธา แห่งเมืองพุกาม พระเจ้าบุเรงนอง แห่งกรุงหงสาวดี และพระเจ้าอลองชญาแห่งชเวโบ ซึ่งอนุสาวรีย์ของสามบูรพกษัตริย์นี้ ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ที่ใจกลางเมืองเนปีดอ และไม่ใช่เพียงเท่านั้น ทางการพม่ายังได้สร้างมหาเจดีย์อุปปตศานติ โดยแบบจำลองของมหาเจดีย์ชเวดากองในกรุงย่างกุ้ง สร้างแรงดึงดุดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมยิงนัก

ภูมิศาสตร์

ประเทศพม่า ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ (หรือคาบสมุทรอินโดจีน) และใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด และ 29° เหนือ และลองติจูด 92° และ 102° ตะวันออก
ประเทศพม่ามีพรมแดนติดต่อกับบังกลาเทศและอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือ พรมแดนทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับทิเบตและมณฑลยูนนานของจีนยาวถึง 2,185 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับลาวและไทย พม่ามีแนวชายฝั่งต่อเนื่องตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทางตะวันตกเฉียงใต้และใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของพรมแดนทั้งหมด
การเมืองการปกครอง
              พม่ามีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาประชาชน สภาชาติพันธ์และสภาท้องถิ่น สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล
                ก่อนปี พ.ศ. 2554 พม่ามีระบอบการปกครองโดยรัฐบาลทหาร ภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council- SPDC) โดยมีประธาน SPDC เป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ในช่วงเวลาดังกล่าว พม่ามักถูกประชาคมโลกตำหนิเกี่ยวกับระบบการปกครอง ซึ่งใช้การปกครองคือ ระบอบเผด็จการทหาร (Military Council) แต่ก็เป็นเพราะปัจจัยภายในประเทศที่คณะรัฐบาล จะต้องหาทางแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในชาติมากที่สุด อันอาจเป็นประเด็นที่ประชาคมโลกไม่อาจเข้าใจปัญหาภายใน ซึ่งเป็นปัจจัยเฉพาะของพม่าเอง
อย่างไรก็ตาม พม่ามีความพยายาม ที่จะดำเนินการ ให้ประเทศก้าวไปสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในเร็ววัน ซึ่งนับว่าเป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ดังจะเห็นว่า พลเอกขิ่น ยุ้น นายกรัฐมนตรีของประเทศในขณะนั้นได้ประกาศ นโยบายการดำเนินการไปสู่ กระบวนการปรองดองแห่งชาติและประชาธิปไตย (Roadmap towards Democracy) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2546
              ถึงแม้พม่าจะได้จัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 7 พ.ย. 2553 ตามระบอบประชาธิปไตยทั่วไป แต่กระนั้นก็ดี กระบวนการประชาธิปไตยของพม่าดังกล่าวนี้ กลับไม่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ทั้งนี้เนื่องจาก คณะรัฐบาลทหารของพม่ายังไม่ได้ลงจากอำนาจอย่างแท้จริง เป็นเพียง การเปลี่ยนแปลงสถานภาพจากรัฐบาลทหาร มาเป็นรัฐบาลพลเรือนโดยคณะ ผู้บริหารระดับสูง ยังคงเป็นนายทหารนอกราชการนั่นเอง
พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย
             พม่าแบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ ตามกลุ่มเชื้อชาติที่เป็น ชนกลุ่มใหญ่ในแต่ละรัฐ (รัฐชิน รัฐกะฉิ่น รัฐกะเหรี่ยง รัฐกะยา รัฐมอญ รัฐยะไข่ และรัฐชาน)และแบ่งเป็น 7 ภาค ได้แก่ อิรวดี พะโค มาเกว มัณฑะเลย์ สะกาย ตะนาวศรี (นานินตายี) และย่างกุ้ง ในเขตพื้นที่ราบลุ่มที่ประชากรเชื้อสายเมียนมาร์อาศัยเป็นส่วนใหญ่


สกุลเงิน
สกุลเงินของประเทศพม่า คือ จัต (Kyat) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 30 จัตต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,500 จัตต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ 
ประชากร
               จำนวนประชากรประมาณ 56,400,000 คน มีชาติพันธุ์พม่า 68%            
 ไทใหญ่ 9% กะเหรี่ยง 7% ยะไข่ 3.50% จีน 2.50% มอญ 2% คะฉิ่น 1.50% อินเดีย 1.25% ชิน 1% 
คะยา 0.75% อื่นๆ 4.50%
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากมอญ จีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรีและอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก

ศาสนา

ศาสนาพุทธ 93% ศาสนาคริสต์ 4% อื่น ๆ 3%
เมืองหลวง : กรุงเนปีดอ
               กรุงเนปีดอ เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2548 และสร้างเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 7 พันตารางกิโลเมตร หรือถ้าเทียบขนาดกับประเทศสิงคโปร์แล้ว ก็จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 10 เท่า กรุงเนปีดอ ตั้งอยู่ในเขตเมืองปินนามา บริเวณตอนกลางของประเทศ ซึ่งห่างจากกรุงย่างกุ้งไปประมาณ 385 กิโลเมตร
         
ผังเมืองของกรุงเนปีดอ แบ่งออกเป็น 4 โซนหลัก ๆ คือ โซนราชการ โซนโรงแรม โซนอุตสาหกรรม และโซนทหาร ซึ่งปัจจุบัน มีประชากรย้ายเข้าไปยังกรุงเนปีดอกว่า 9 แสนคน โดยที่กรุงเนปีดอ มีโรงแรมอยู่ทั้งสิ้น 24 แห่ง กว่า 1,600 ห้อง แต่นั่นเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ เท่านั้น เพราะสิ่งที่โดดเด่นที่สุดคงเป็น โซนทหาร เนื่องจากเต็มไปด้วยศูนย์ราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย และคลังอาวุธเพื่อใช้ในการป้องกันประเทศ
เศรษฐกิจ
ด้านเกษตรกรรม ถือว่าเป็นอาชีพหลักของชาวเมียนมาร์ เขตเกษตรกรรม คือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเอยาวดี และแม่น้ำสะโตง โดยส่วนใหญ่จะปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจ้า อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่นๆ
ด้านการทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมือง ดีบุก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตาม แม่น้ำเอยาวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง
ด้านอุตสาหกรรม กำลังมีการพัฒนาอยู่บริเวณตอนล่างของประเทศ ภาคอุตสาหกรรมโดยทั่วไปนั้นยังอยู่ในขั้นพัฒนา เช่นอุตสาหกรรมต่อเรืออยู่บริเวณเมืองย่างกุ้ง มะริด และทวาย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ อัญมณี ป่าไม้ แร่ธาตุ (ดีบุก) และน้ำมัน

จากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยทหาร รัฐบาลทหารได้นำเมียนมาร์ไปสู่ระบบเศรษฐกิจเสรี และแม้ต่อมาจะได้จัดตั้งสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ก็ยังคงยึดนโยบายเช่นเดิม คือ อนุญาตให้ ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิต และการจัดการ รวมทั้งได้เปิดประเทศ ให้มีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น แต่มีอัตราการขยายตัวไม่แน่นอน เพราะเศรษฐกิจของพม่า ต้องพึ่งพาสินค้าเกษตรเพียงไม่กี่ชนิด หากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ หรือสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวน ก็จะส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำ นอกจากนั้น อุปสรรคที่ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่แน่นอน ยังเกิดจากการขาดแคลนไฟฟ้าและสาธารณูปโภคขึ้นพื้นฐาน ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ในระบบและนอกระบบ เป็นต้น

สินค้านำเข้าที่สำคัญ

: ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม


   สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร

สินค้าส่งออกที่สำคัญ

: ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง

ตลาดนำเข้าที่สำคัญ

: จีน สิงคโปร์ ไทย

ตลาดส่งออกที่สำคัญ

ไทย อินเดีย จีน
จุดอ่อน/จุดแข็ง : เมียนมาร์


จุดแข็ง

: มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก


: มีพรมแดนเชื่อมโยงกับจีนและอินเดียที่ถือเป็นตลาดใหญ่มากของโลก


: ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ ข้อมูลปี 55


 (2.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน หรือประมาณวันละ 75 บาท)


  

จุดอ่อน

ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร


: ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย

จีดีพี
             ปัจจุบันพม่าหรือเมียนมาร์ มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประมาณ 26.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (พฤษภาคม 2555) โครงสร้างทางเศรษฐกิจของพม่าขึ้นอยู่กับภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ถั่วแขก ผ้าผืน ต้นสัก ไม้เนื้อแข็ง ปลา ข้าว ถั่ว ยางดิบ โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ ไทย ฮ่องกง จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ
การแบ่งเขตการปกครอง
                ประเทศพม่าแบ่งเขตการปกครองในระดับภูมิภาคออกเป็น 7 เขต (region) สำหรับพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พม่า และ 7 รัฐ (states) สำหรับพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่
เขต 
ชื่อ
เมืองหลวง
พื้นที่ (km²)
ประชากร
43,328
1,327,400
39,404
5,014,000
37,023
6,442,000
44,819
4,464,000
10,170
5,420,000 (2542)
6. เขตสะกาย (Sagaing)
93,527
5,300,000 (2539)
7. เขตอิรวดี (Ayeyarwady)
35,138
6,663,000
รัฐ 
ชื่อ
เมืองหลวง
พื้นที่ (km²)
ประชากร
89,041
1,200,000
2. รัฐกะยา (Kayah)
11,670
259,000
30,383
1,431,377
4. รัฐฉาน หรือรัฐไทใหญ่ (Shan)
155,800
4,702,000 (2542)
5. รัฐชิน (Chin)
36,018
538,000 (2548)
6. รัฐมอญ (Mon)
12,155
2,466,000
7. รัฐยะไข่ (Rakhine)
36,780
2,698,000

ข้อมูลการค้า-การลงทุน

ปัจจุบันพม่ามีผลิตภัณฑ์มวลรวมประมาณ 26.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (พฤษภาคม 2555) โครงสร้างทางเศรษฐกิจของพม่าขึ้นอยู่กับภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ถั่วแขก ผ้าผืน ต้นสัก ไม้เนื้อแข็ง ปลา ข้าว ถั่ว ยางดิบ โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ ไทย ฮ่องกง จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ ส่วนการนำเข้านั้น ส่วนใหญ่พม่านำเข้าสินค้าทุน อาทิ น้ำมันกลั่น เครื่องยนต์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงโลหะขั้นต้นและเครื่องจักรไฟฟ้าที่ใช้ในภาคการผลิต สินค้านำเข้าส่วนใหญ่มาจากจีน รองลงมาคือประเทศในกลุ่มอาเซียน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น
ด้านความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับพม่า สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ
  1. การค้าปกติ ซึ่งข้อมูลในปี 2554 พบว่าไทยและพม่ามีมูลค่าการค้าระหว่างกันอยู่ที่ 1.85 แสนล้านบาท โดยไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของพม่า ขณะที่พม่าเป็นคู่ค้าอันดับ 19 ของไทย
  2. การค้าตามแนวชายแดน (ร้อยละ 80) ซึ่งไทยและพม่ามีเส้นเขตแดนร่วมกันยาว 2,401 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง ส่งผลให้มีการค้าชายแดนตามแนวจังหวัดต่างๆ หลายจุด ซึ่งข้อมูลในปี 2553 พบว่ามีมูลค่าการค้าชายแดนไทย-พม่าเกิดขึ้นประมาณ 1.37 แสนล้านบาท

กฎระเบียบการทำธุรกิจ

ขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออกสินค้า

ในการทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้านั้น ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า และส่งออกที่สำนักงานทะเบียนนำเข้า-ส่งออก (Export-Import-Registration-Office) กรมการค้ากระทรวงพาณิชย์ โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน 5,000 จ๊าด สำหรับระยะเวลา 1 ปี และ 10,000 จ๊าด สำหรับระยะเวลา 3 ปี โดยผู้ที่สามารถยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าส่งออกต้องเป็นบุคคลธรรมดาทั้งหลายที่มีสัญชาติพม่า หรือที่แปลงสัญชาติเป็นพม่า (Naturalized Citizenship) หรือเป็นห้างหุ้นส่วน/บริษัทที่จัดตั้งขึ้นในพม่า หรือเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทร่วมทุน ทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายการลงทุนต่างประเทศของพม่า รวมทั้งสหกรณ์ทั้งหลายที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายสหกรณ์ของพม่า ปี 2533
ทั้งนี้ ผู้จดทะเบียนนำเข้าส่งออกจะมีสิทธิส่งออกสินค้าทุกชนิดยกเว้น ไม้สัก น้ำมันปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ ไข่มุกหยก อัญมณี แร่ธรรมชาติ และสินค้าอื่น ๆ ที่ระบุว่าสามารถดำเนินการได้โดยหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ ยังสามารถนำเข้าสินค้าทุกชนิดตามเงื่อนไขของกฎและระเบียบที่ระบุไว้ ยกเว้นสินค้าที่เป็นสินค้าห้ามนำเข้า สามารถจำหน่ายสินค้าในตลาดภายในประเทศได้ สามารถยื่นขอหนังสือเดินทางประเภทธุรกิจไปต่างประเทศ และสามารถที่จะรับรองแขกต่างประเทศ เพื่อการเจรจาธุรกิจได้
สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน ผู้นำเข้าจะต้องเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศที่ Myanmar-Investment-and-Commercial -Bank (MICB) หรือ Myanmar-Foreign-Trade-Bank (MFTB) เพื่อยื่นใบอนุญาตนำเข้าสินค้าจากกระทรวงพาณิชย์ พร้อมทั้งมีแบบสัญญาขาย (Sale Contact) และ Proforma Invoice ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า บรรจุภัณฑ์ และระยะเวลาการส่งมอบ ในกรณีที่ซื้อเป็นราคา FOB ผู้นำเข้าจะต้องทำการประกันภัยสินค้ากับ Myanmar Insurance Company และใช้บริษัท Myanmar Five Star Line เป็นผู้ขนส่งสินค้าเท่านั้น และผู้นำเข้าสินค้าจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการนำเข้าภายใน 21 วัน นับจากวันตามที่ระบุไว้ในอนุญาตนำเข้า

นโยบายการส่งเสริมการลงทุน

รัฐบาลพม่ามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment: FDI) และได้ประกาศใช้กฎหมายการลงทุนต่างชาติ หรือ Myanmar Foreign Investment Law (FIL) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2531 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ และล่าสุดได้มีการปรับปรุงกฎหมายการลงทุนต่างชาติฉบับใหม่โดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า ได้ลงนามรับรองกฎหมายฉบับใหม่นี้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 มีผลให้การลงทุนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การยกเลิกข้อจำกัดมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำ และการกำหนดสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เป็นต้น

สิทธิประโยชน์

สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน

จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ นักลงทุนจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปีแรกของการประกอบธุรกิจ การยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรสะสมที่นำกลับมาลงทุนใหม่อีกครั้งภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากที่มีกำไรเกิดขึ้น การยกเว้นภาษีศุลกากร สำหรับนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในช่วงระยะเวลาการก่อสร้างสำนักงาน การยกเว้นศุลกากร สำหรับนำเข้าวัตถุดิบเป็นระยะเวลา 3 ปีแรกในการดำเนินกิจการ เป็นต้น
สำหรับธุรกิจส่งออกจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ร้อยละ 50 จากผลกำไรที่ได้จากการส่งออก

สิทธิประโยชน์ด้านการค้า

สหภาพพม่า มีการทำข้อตกลงทางการค้าแบบทวิภาคีกับหลายประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน ไทย บังกลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เวียดนาม ลาว ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ภูมิภาคอาเซียน และอีก 6 ประเทศในยุโรปตะวันออก ซึ่งเงื่อนไขและข้อตกลงต่างๆ อยู่บนพื้นฐานของ “ข้อบัญญัติด้วยชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง ” (The Most ‟ Favored Nation: MFN) ตามหลักของ WTO นอกจากนี้ ยังมีการทำข้อตกลงการทำการค้าชายแดนกับประเทศจีน (มกราคม 1994, ประเทศบังคลาเทศ (พฤษภาคม 1994) และประเทศไทย (มีนาคม 1996) เพื่อขยายการค้าชายแดนให้มากขึ้น
นอกจากนี้ พม่ายังเป็นสมาชิกอาเซียน ( ASEAN :Association of South East Asian Nations) ซึ่งมีพันธะที่จะต้องลดและยกเลิกมาตรการกีดกันทางด้านภาษีและมิใช่ภาษีให้กับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนตามกลไก Common Effective Preferential Tariff (CEPT) ภายในปี 2551

ประเด็นท้าทายในการทำธุรกิจ

แม้ว่าพม่าจะเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ แต่ก็ยังมีอุปสรรคด้านการค้าการลงทุนหลายประการที่ผู้ประกอบการควรศึกษาไว้เพื่อมองหาแนวทางแก้ปัญหา โดยอุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ มีดังนี้
  • มาตรการห้ามส่งออก ได้แก่ การห้ามส่งออกสินค้าในรูปการค้าปกติทางทะเล 31 รายการ เช่น ข้าว น้ำตาล งา ฝ้าย อัญมณี น้ำมัน ฯลฯ และการห้ามส่งออกสินค้าในรูปการค้าปกติผ่านชายแดน 32 รายการ เช่น ข้าว น้ำมันปิโตรเลียม ยางพารา ฯลฯ
  • การปิดด่านการค้าชายแดนบ่อยครั้ง อันเนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบตามแนวชายแดน
  • มาตรการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากภาษีศุลกากรปกติ เช่น ค่านายหน้าในการส่งผ่านสินค้าไปสู่ประเทศที่ 3 การกำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าราคา FOB ทำประกันภัยสินค้ากับ Myanmar Insurance Company และใช้บริษัท Myanmar Five Star Line เป็นผู้ขนส่งเท่านั้น เป็นต้น
  • การขอใบอนุญาตนำเข้าซึ่งมีความเข้มงวดและเลือกปฏิบัติระหว่างนักธุรกิจท้องถิ่นกับนักธุรกิจไทย
  • ระบบการเงินไม่มีเสถียรภาพ ขาดแคลนเงินตราสกุลหลัก
  • เส้นทางคมนาคมทางบกเชื่อมระหว่างไทย-พม่า มีสภาพชำรุดทรุดโทรม เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า
  • กฎระเบียบการค้าของพม่าไม่มีความแน่นอน เปลี่ยนแปลงบ่อย เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ต้องสอบถามจากส่วนกลาง ทำให้เกิดความล่าช้า
  • รัฐบาลทหารของพม่าเป็นผู้ผูกขาดระบบการค้า การลงทุน การธนาคาร ซึ่งมีนโยบายไม่แน่นอน
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากมอญ จีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรีและอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก
                                                              
9.1 ชุดประจำชาติ
ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวาระพิเศษต่าง ๆ ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (GuangBaung) ด้วย ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ



อาหาร

                หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า โดยการนำใบชาหมักมาทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เรียกได้ว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกับเมี่ยงคำของประเทศไทย ซึ่งหล่าเพ็ดนี้ จะเป็นเมนูอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ ๆ ของประเทศพม่า โดยกล่าวกันว่า หากงานเลี้ยง หรืองานเฉลิมฉลองใด ไม่มีหล่าเพ็ด จะถือว่าการนั้นเป็นงานที่ขาดความสมบูรณ์ไปเลยทีเดียว

              ขนมจีนน้ำยาพม่า "โมฮิงยา (Mo HinGa)" คือขนมจีนน้ำยาที่ทำจากปลา ไม่มีกระทิ จะเรียกว่าน้ำยาป่าก็ได้ มีทานทุกภาค เรียกว่าเป็นอาหารประจำชาติก็ได้ ชาวพม่าจะทานในตอนกลางวัน ร้านส่วนใหญ่ก็จะเป็นแผงลอย อยู่ตามข้างถนน บางทีก็ทานเป็นอาหารเช้าด้วย น้ำยาจะใช้ปลาน้ำจืดเป็นหลักพวก ปลาดุก ปลาช่อน ผักที่ใส่ในน้ำยาก็จะเป็น หยวกกล้วยและใช้พวกแป้งถั่ว (Chickpea floor) หรือ ข้าวคั่วเพื่อทำให้น้ำแกงข้น จากนั้นก็โรยหน้าด้วยถั่วเหลืองทอด ไข่ต้ม ปลาเส้นทอด ปลาท่องโก๋ ผักชี ปรุงรสด้วยพริกป่น และมะนาว

ปาท่องโก๋พม่า (อิ่วเจ๋)
โรตีโอ่ง (หนั่งปยา)
โอะโน ขอคสเว (OhnoKaukshwe) หรือ ก๋วยเตี๋ยวแกงกะหรี่

เทศกาล
                                เทศกาลตาดิงยุต หรืองานฉลองโคมประทีบ เป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองการกลับมายังโลกมนุษย์ของพระพุทธเจ้า จะจัดขึ้นในช่วงของออกพรรษา หรือหมดฤดูฝน ซึ่งจะจัดกัน 3 วันคือ ในวันก่อนที่พระจันทร์เต็มดวง วันพระจันทร์เต็มดวง และหลังวันพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งจะตรงกับวันที่ 11-13 ตุลาคมของทุกปี


ชาวเมืองจะประดับประดาโคมไฟตามบ้านเรือนให้สว่างไสวไปทั่วบริเวณ วัดวาอารามจะเต็มไปด้วยผู้คนที่เข้ามากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ นอกเหนือจากนั้นเทศกาลนี้ยังคล้ายๆกับเทศกาลขอบคุณพระเจ้าของศาสนาคริสต์ในด้านของการขอบคุณในสิ่งที่พระองค์ทรงประทานพรให้ และขอโทษในสิ่งที่ได้กระทำผิดพลาดไป ไม่ว่าจะเป็นทางกาย หรือทางใจ
อีกหนึ่งวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาของเทศกาลนี้คือ การที่ลูกหลานจะได้มีโอกาสขอขมาในสิ่งที่ทำไม่ดีลงไปต่อญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสกว่า ซึ่งเป็นการลดช่องว่างระหว่างวัย ที่มักจะเป็นปัญหาสำคัญของสังคมในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
เทศกาลปีใหม่หรือเทศกาลน้ำตะ-จาน
                                ในเทศกาลฉลองปีใหม่ของพม่าการสาดน้ำซึ่งกันและกันเพื่อจะได้เย็นสบายในช่วงที่สภาพอากาศร้อน และเป็นการลบล้างสิ่งสกปรกจากปีเก่าเพื่อความรักใคร่ซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าเล่นน้ำสนุกสนานกันแต่ชาวพม่าก็ไม่ลืมการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลในการข้ามปีใหม่ด้วยเหมือนกันชาวพม่าทั้งหลายทำบุญ สรงน้ำพระพุทธรูป ถือศีล ปฏิบัติธรรม ทำความสะอาดวัดอาราม สระผมและอาบน้ำทำความสะอาดให้แก่คนชราที่ไร้ญาติ และผู้ใหญ่ในครอบครัว ปล่อยสัตว์เช่น ปลา วัว ควาย ทำบุญกุศลกันเพื่อเป็นสิริมงคลในการข้ามปีใหม่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น